บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 13 เดือน พฤศจิกายน 2556 เวลา 08.30-12.20
น.
สิ่งที่ได้รับในวันนี้
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ความหมายของคณิตศาสตร์ ระบบการคิดของมนุษย์
เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ สัญลักษณ์
การพูด การเขียน และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ จำนวน ตัวเลข
การคิดคำนวณ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน การวัด เรขาคณิต พีชคณิต
ความสำคัญของคณิตศาสตร์
· เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
· ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
· เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล
วางแผนงานและประเมินผล
· เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ
โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ
piaget
1.
ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส แรกเกิด-2 ปี
· เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ
· สามารถจดจำสิ่งต่างๆบอกคุณลักษณะของวัตถุได้
2.
ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเห็นผล 2-7 ปี
· ใช้ภาษาแสดงความรู้
ความคิด
· เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด
น้ำหนัก รูปทรงและความยาว
· เล่นบทบาทสมมติซึ้งเป็นพื้นฐานของพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็น
**นานธรรมมากขึ้น
เช่น จำนวน ตัวเลข ตัวอักษร คำที่มีความหมาย **
· เด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด
· ไม่สามารถคงความคิดความสภาพเดิมไว้ได้
เมื่อสภาพทางกายภาพเปลี่ยนแปลง ทำให้เด็กไม่สามารถสั่งสมความคิดไว้ได้
เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
· โดยการนับ
· การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
· การเปรียบเทียบรูปทรง-ปริมาตร
· เรียงลำดับ
· จัดกลุ่ม
หลักการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
· เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย
อธิบายและสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆของคณิตศาสตร์ผ่านวัสดุและสื่ออุปกรณ์
· ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่นและกิจกรรมที่มีการลงมือปฏิบัติ
· ให้เด็กได้ใช้ประสานสัมผัสต่างๆในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
· ใช้คำถามปลายเปิด
· เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
**พอเรียนเสร็จอาจารย์ตฤณให้วาดภาพรูปสัตว์ที่มีขาให้มากที่สุด ใครมีขามาที่สุดอาจารย์จะให้รางวัลแต่สุดท้ายแล้วอาจารย์ตฤณหลอกให้นักศึกษาวาดภาพสัตว์ที่มีขามาเพื่อที่จะทำรองเท้าให้ภาพนั้นๆของแต่ละคนส่วนขอดิฉันได้วาดภาพ แกะ มี 4 ขา เลยวาดรองเท้าไม่มาก**
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น